วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

นักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษ

นักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษ


􀂌
การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร

      การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance : QA) เป็นระบบในการสร้างความมั่นใจในเรื่องคุณภาพการศึกษาให้แก่นักศึกษา ผู้ปกครอง และสังคม โดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2545 ซึ่งกำ หนดให้สถาบันการศึกษาทุกระดับต้องดำเนินการให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในระบบบริหารการศึกษา โดยการประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งออกเป็น

􀂔 การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 

มีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล และพัฒนาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ โดยคณะวิชาจะต้องดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในเป็นประจำทุกปี

􀂔 การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก 

มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล และพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพ และจะดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกๆ 5 ปี













































􀂌 ประเภทของกิจกรรมนักศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
กิจกรรมนักศึกษาที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาส่งเสริมให้มีการดำเนินการ แบ่งออกเป็น 5
ประเภท ดังนี้
(1) กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
(2) กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ
(3) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
(4) กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
(5) กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
􀂌 ทักษะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
ทักษะสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษา ได้แก่
กระบวนการ PDCA ซึ่งได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950 โดย
ศาสตราจารย์ ดับบลิว เอ็ดวาร์ด เดมมิ่ง (W. Edwards Deming) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณภาพ ทำให้
กระบวนการ PDCA ได้รับการเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วงจรเดมมิ่ง
กระบวนการ PDCA นี้นอกจากจะใช้สำหรับการจัดกิจกรรมนักศึกษาแล้วยังสามารถนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน และใช้กับการทำงานในอนาคตภายหลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา เพื่อพัฒนาชีวิตและการ
ทำงานให้มีประสิทธิสูงขึ้นได้อีกด้วย
5
􀂔 กระบวนการ PDCA ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
(1) P คือ การวางแผน (Plan)
(2) D คือ การลงมือปฏิบัติ (Do)
(3) C คือ การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check)
(4) A คือ การปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา (Act)
􀂔 ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
การวางแผนเป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม/โครงการต่างๆ และนับเป็นขึ้นตอนที่มี
ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก หากการวางแผนเกิดความผิดพลาดแล้วการดำเนินงานในขั้นตอนต่อๆไปก็จะ
เกิดความยากลำบากและก่อให้เกิดปัญหาที่ต้องแก้ไขตามมามากมาย รวมทั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
การดำเนินกิจกรรม/โครงการทั้งหมดอีกด้วย
6
สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการดำเนินการวางแผน ได้แก่
การกำหนดหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และu3612 ผลลัพธ์ที่ต้องการของกิจกรรม/
โครงการต้องมีความชัดเจน
มีการกำหนดเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ที่ชัดเจนสามารถวัดได้ ทั้งนี้
เป้าหมายหรือตัวชี้วัดความสำเร็จนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ ได้แก่ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และ
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ (สำหรับตัวชี้วัดแบบอื่นๆ นั้นก็เป็นหัวข้อย่อยไปจากตัวชี้วัด 2 ประเภทใหญ่นี้)
มีการกำหนดวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ โดย
ประเด็นสำคัญที่ต้องคิดพิจารณาในการวางแผนการดำเนินงานคือการกำหนดตามหลัก 5 W 1 H ได้แก่
􀀦 What (จะดำเนินการอะไร)
􀀦 Where (จะดำเนินการที่ไหน)
􀀦 When (จะดำเนินการเมื่อไร)
􀀦 Who (จะดำเนินการโดยใคร)
􀀦 Why (จะดำเนินการไปทำไม)
􀀦 How (จะดำเนินการไปทำไม)
7
ประเภทของแผนงาน
1. แผนงานตามระยะเวลา
2. แผนงานตามความรับผิดชอบ ได้แก่
2.1 แผนงานส่วนบุคคล
2.2 แผนงานขององค์กรหรือหน่วยงาน
3. แผนงานตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
3.1 แผนงานหลัก (Master Plan) เป็นแผนงานขององค์กร ได้กำหนดเป้าหมายนโยบาย
วัตถุประสงค์ขององค์กร ทุกหน่วยงานต้องทำตามและเขียนแนวทางการดำเนินงาน
โดยรวมขององค์กร โดยมิได้กำหนดวิธีการทำงาน
3.2 แผนปฏิบัติการ (Action Plan) เป็นแผนปฏิบัติงานเฉพาะส่วนเฉพาะงาน หรือ
เฉพาะกิจ ที่เขียนขึ้นเพื่อเสริมให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายของแผนงานหลักหรือของ
องค์กรแผนปฏิบัติการจะมีรายละเอียดมากที่สุดเพราะเป็นแนวทางการดำเนินงานสู่
เป้าหมาย
3.3 แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) เป็นแผนปฏิบัติงานที่เขียนขึ้นอย่างเร่งด่วนเพื่อ
แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมาย เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีเหตุการณ์
แทรกซ้อนทำให้ผลงานหรือคุณภาพลดลงหากไม่ทำการแก้ไข
3.4 แผนปรับปรุงงาน เป็นการวางแผนอย่างต่อเนื่องจากการปรับปรุงงานตามแผนงาน
หลักแล้วพบปัญหาหรือข้อบกพร่อง
􀂔 ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ (Do)
การลงมือปฏิบัติตามกิจกรรม/โครงการที่กำหนดเอาไว้นับเป็นเนื้อหาสาระของการทำ
กิจกรรม/โครงการ ดังนั้นในการลงมือปฏิบัติต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆเหล่านี้ให้ดี
ทำการศึกษาแผนการดำเนินงานที่วางเอาไว้ให้แจ่มแจ้ง เพื่อให้เข้าใจวิธีการดำเนินงานใน
แต่ละขั้นตอนและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งใจเอาไว้
ลงมือปฏิบัติตามวิธีการที่กำu3627 หนดเอาไว้ไม่ละเลยหรือดำเนินงานข้ามขั้นตอน
ระหว่างดำเนินการก็ควรที่จะจัดเก็บข้อมูลคุณลักษณะคุณภาพตามวิธีการที่กำหนดไว้
8
􀂔 ขั้นตอนการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check)
ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรม/โครงการ รวมทั้ง
ประเมินผลความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามแผนงาน กิจกรรม/โครงการที่กำหนดเอาไว้ ทั้งนี้เพื่อ
ตรวจสอบว่างานที่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน เป้าหมายที่กำหนดเอาไว้หรือไม่
ตรวจสอบว่าเกิดปัญหาและอุปสรรค หรือมีแนวทางการดำเนินงานที่ดีอย่างไรบ้าง
􀂔 ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา (Act)
ขั้นตอนนี้นับเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ PDCA และเป็นการก่อกำเนิดขึ้นตอนแรก
คือ การวางแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการในครั้งต่อไป ขั้นตอนนี้ คือ การปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา
ขั้นตอนนี้เป็นการนำผลจากการตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงานตามกิจกรรม/
โครงการ มาพิจารณาว่ามีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นที่จุดใดของการดำเนินการบ้าง มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง
ผลงานที่ออกมาตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้หรือไม่ สามารถทำตามแผนการที่วางไว้ได้
ครบถ้วนหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อพิจารณาสำหรับการจัดทำกิจกรรม/โครงการในครั้งต่อไป เพื่อไม่ให้เกิด
ปัญหาซ้ำรอยเดิมอีก
9
การแก้ไขปัญหาต้องแก้ไขที่สาเหตุ ดังนั้น ถ้าพบความผิดปกติใดๆขึ้นในการดำเนินกิจกรรม/
โครงการ จะต้องสอบสวน ค้นหาสาเหตุ แล้วทำการหาทางแก้ไขปัญหา นับเป็นการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบ/
วิธีการทำงานนั้นๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ

2 ความคิดเห็น:

ท่านคิดว่าควรต้องปรับปรุงอะไรบ้างในบล๊อคนี้