เอกสารสรุปบทที่
7 การจัดการสินค้าคงคลัง
สินค้าคงคลัง
(Inventory) จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนชนิดหนึ่ง ซึ่งกิจการต้องมีไว้เพื่อขายหรือผลิต
ได้แก่
- วัตถุดิบ
คือสิ่งของหรือชิ้นส่วนที่ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิต
- งานระหว่างกระบวนการผลิต
เป็นชิ้นงานที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตในขั้นตอนต่อไปโดยที่ยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบทุกขั้นตอน
-
วัสดุซ่อมบำรุง คือ
ชิ้นส่วนหรืออะไหล่เครื่องจักรที่สำรองไว้เผื่อเปลี่ยนเมื่อชิ้นส่วนเดิมเสียหายหรือหมดอายุการใช้งาน
-
สินค้าสำเร็จรูป คือ ปัจจัยการผลิตที่ผ่านทุกกระบวนการผลิตครบถ้วน
พร้อมที่จะนำไปขายให้ลูกค้าได้
-
นอกจากนี้รวมถึง แรงงาน เงินลงทุน และเครื่องมือ เครื่องจักร
อุปกรณ์
7.1ระบบการจำแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดเอบีซี(ABC)
ระบบนี้เป็นวิธีการจำแนกสินค้าคงคลังออกเป็นแต่ละประเภทโดยพิจารณาปริมาณและมูลค่าของสินค้าคงคลังแต่ละรายการเป็นเกณฑ์
เพื่อลดภาระในการดูแล ตรวจนับ และควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่มากมาย
ซึ่งถ้าควบคุมทุกรายการอย่างเข้มงวดเท่าเทียมกัน
จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น
เพราะในบรรดาสินค้าคงคลังทั้งหลายของแต่ละธุรกิจจะมักเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
A เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณน้อย (5-15%
ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างสูง (70-80% ของมูลค่าทั้งหมด)
B เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณปานกลาง (30%
ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) และมีมูลค่ารวมปานกลาง (15%
ของมูลค่าทั้งหมด)
C เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณมาก (50-60%
ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างต่ำ (5-10% ของมูลค่าทั้งหมด)
ตัวอย่างที่ 1 ฝ่ายซ่อมบำรุงในโรงงานเอสเอสไอ
รับผิดชอบในการสำรองอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรซึ่งได้เก็บประวัติการใช้งานที่ผ่านมา
มีหมายเลขชิ้นส่วน ราคาต่อหน่วย และการใช้งาน ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ชิ้นส่วนที่
|
ต้นทุนต่อหน่วย
|
อุปสงค์ต่อปี
|
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
|
60
360
30
80
30
20
10
320
510
20
|
90
40
130
60
10
180
170
50
6
120
|
ซึ่งสามารถหาชั้นของอะไหล่โดยคูณระหว่างต้นทุนต่อหน่วยกับอุปสงค์ต่อปี
และจัดชั้นได้ดังนี้
ชิ้นส่วนที่
|
มูลค่ารวม
|
%ของมูลค่ารวม
|
%ของปริมาณรวม
|
%สะสม
|
|
9
8
2
|
30,600
16,000
14,000
|
35.90
18.70
16.40
|
6.00
5.00
4.00
|
A
|
6.0
11.0
15.0
|
1
4
3
|
5,400
4,800
3,900
|
6.30
5.60
4.60
|
9.00
6.00
10.00
|
B
|
24.0
30.0
40.0
|
6
5
10
7
|
3,600
3,000
2,400
1,700
|
4.20
3.50
2.80
2.00
|
18.00
13.00
12.00
17.00
|
C
|
58.0
71.0
83.0
100.0
|
ชั้น
|
รายการ
|
%ของมูลค่ารวม
|
%ของปริมาณ
|
A
|
9,8,2
|
71.0
|
15.0
|
B
|
1,4,3
|
16.5
|
25.0
|
C
|
6,5,10,7
|
12.5
|
60.0
|
การจำแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดABC จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังแตกต่างกันดังต่อไปนี้
A ควบคุมอย่างเข้มงวดมาก
ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับจ่าย
และมีการตรวจนับจำนวนจริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในบัญชีอยู่บ่อยๆ (เช่น
ทุกสัปดาห์)
การควบคุมจึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องและต้องเก็บของไว้ในที่ปลอดภัย
ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนสินค้าและสามารถเจรจาต่อรองราคาได้
B
ควบคุมอย่างเข้มงวดปานกลาง ด้วยการลงบัญชีคุมยอดบันทึกเสมอเช่นเดียวกับ A ควรมีการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการสูญหาย
การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า
(เช่น ทุกสิ้นเดือน) และการควบคุม B
จึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A
C
ไม่มีการจดบันทึกหรือมีก็เพียงเล็กน้อย
สินค้าคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบใช้ได้ตามสะดวกเนื่องจากเป็นของราคาถูกและปริมาณมาก
ถ้าทำการควบคุมอย่างเข้มงวด
จะทำให้มีค่าใช้จายมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ป้องกันไม่ให้สูญหาย
การตรวจนับ C
จะใช้ระบบสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดคือเว้นสักระยะจะมาตรวจนับดูว่าพร่องไปเท่าใดแล้วก็ซื้อมาเติม
หรืออาจใช้ระบบสองกล่อง ซึ่งมีกล่องวัสดุอยู่ 2 กล่องเป็นการเผื่อไว้
พอใช้ของในกล่องแรกหมดก็นำเอากล่องสำรองมาใช้แล้วรีบซื้อของเติมใส่กล่องสำรองแทน
ซึ่งจะทำให้ไม่มีการขาดมือเกิดขึ้น
7.2
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือ
โดยมีสมมติฐานที่กำหนดเป็นขอบเขตไว้ว่า
1)
ทราบปริมาณอุปสงค์อย่างชัดเจน และอุปสงค์คงที่
2)
ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อพร้อมกันทั้งหมด
3) รอบเวลาในการสั่งซื้อ
ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนได้รับสินค้าคงที่
4)
ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าและต้นทุนการสั่งซื้อคงที่
5) ราคาสินค้าที่สั่งซื้อคงที่
6)
ไม่มีสภาวะของขาดมือเลย
การหาขนาดการสั่งซื้อประหยัด
(EOQ) และต้นทุนรวม (TC) จะทำได้จาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ท่านคิดว่าควรต้องปรับปรุงอะไรบ้างในบล๊อคนี้