วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การบริหารงานอุตสาหกรรม10-11

การเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรม


        การเพิ่มผลผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ  จำเป็นอย่างมากในปัจจุบันจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยชิ้นงานเหมือนจริงพบว่าช่วยลดเวลาในการทำงานกว่า 5-10เท่า ดังตัวอย่างการเขียนข้างล่าง




 
 
 
 
 
 
การการวางแผนจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวก
      สิ่งอำนวยความสะดวก (facilities) หมายถึง อุปกรณ์ เครื่องจักรที่จำเป็นสำหรับกระบวนการผลิตหรือกระบวนการบริการ ตัวอย่างเช่น สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงงานอุตสาหกรรม คือ เครื่องจักรเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ อุปกรณ์ช่วยขนถ่ายลำเลียง

                การวางแผนจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวกจะต้องพิจารณาร่วมกับการออกแบบแผนผังขององค์กรรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เน้นการผลิตผลิตภัณฑ์ (Product) หรือ องค์กรที่เน้นการบริการ (Service) ดังนั้นเนื้อหาเรื่องนี้จึงจะกล่าวถึงขั้นตอนของการออกแบบแผนผังซึ่งจะต้องสอดคล้องกับการจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆโดยแบ่งระยะต่างๆดังนี้

                1.การเลือกทำเลที่ตั้ง (Plant location)

                2.การพิจารณาลักษณะทั่วไปของอาคาร (Plant building)

                3.การออกแบบแผนผัง (Plant layout)

                4.การติดตั้ง (Installation)

1.การเลือกทำเลที่ตั้ง

          การตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกทำเลที่ตั้งนั้นมีความสำคัญมาก เป็ฯส่วนหนึ่งของการวางแผนเรื่องแรกขององค์กรซึ่งจะมีผลต่ออนาคตด้วย จุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้บริหารองค์กรสนใจที่จะทำการวิเคราะห์เลือกทำเลที่ตั้งมีมากมายหลายสาเหตุ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ธนาคาร  ร้านอาหาร  มักจะทำการขยายทำเลที่ตั้งเพื่อขยายตลาดให้มีจำนวนลูกค้ามากขึ้น  อีกสาเหตุหนึ่งก็คือลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการขององค์กรมากขึ้น ทำให้องค์กรจะต้องขยายความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อสามารถดำดเนินกิจกรขององค์การในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า อีกรูปแบบหนึ่งของการเลือกทำเลที่ตั้งใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ กรณีที่องค์กรดำเนินการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตในทำเลเดิมทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องเลือกทำเลที่ตั้งใหม่ที่มีทรัพยากรธรรมชาตินั้นในปริมาณเพียงพอสำหรับการผลิต เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียมอุตสาหกรรมถ่านหิน

1.1 ความสำคัญของการเลือกทำเลที่ตั้ง

มีเหตุผลหลักๆ 2 ประการด้วยกันคือ

                1.การเลือกทำเลที่ตั้งมีผลกระทบต่อกรดำเนินการขององค์กรในระยะยาว จะเห็นได้จากองค์กรจะไม่ทำการเลือกทำเลที่ตั้งบ่อย และเมื่อองค์กรได้ดำเนินการในทำเลที่ตั้งใหม่แล้ว เป็นการยากที่จะทำการเปลี่ยนทำเลที่ตั้งอีก

                2.เลือกทำเลที่ตั้งจะส่งผลกระทบถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิต รายรับซึ่งองค์กรจะได้รับ และรูปแบบของการผลิต การเลือกทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง (Transportation cost) การขาดแคลนแรงงาน เสียเปรียบคู่แข่งในด้านการตลาด วัตถุดิบไม่เพียงพอ หรือ สภาพการผลิตส่งผลทำให้เกิดการเสียหายได้

                ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เน้นการผลิตหรือองค์กรที่เน้นการบริการ การเลือกทำเลที่ตั้งย่อมส่งผลทำให้เกิดการเสียเปรียบหรืได้เปรียบองค์กรที่เป็นคู่แข่งได้

                1.2 รูปแบบของการเพิ่มความสามารถในการผลิต

ผู้บริหารขององค์กรมักจะพิจารณา 3 รูปแบบในการวางแผนขยายความสามารถในการผลิหรือบริการคือ

                1.การขยายพื้นที่ขององค์กรปัจจุบัน

                2.การขยายสาขาหรือเพิ่มโรงงานผลิต

                3.การเปลี่ยนทำเลที่ตั้งใหม่

หลังจากที่องค์กรได้ทำการวิเคราะห์แล้ว พบว่าทั้ง 3 ทางเลือกนั้นยังไม่มีข้อดีที่เด่นชัดเจนองค์กรอาจะไม่

ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง นอกจากจะปรับปรุงทำเลที่ตั้งในปัจจุบันให้มีสภาพดีขึ้น

1.3 ขั้นตอนการเลือกทำเลที่ตั้ง

            ขั้นตอนของการเลือกทำเลที่ตั้งมักจะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักดังนี้

                1.กำหนดเกณฑ์สำหรับการประเมินแต่ละทำเลที่ตั้ง

                2.กำหนดปัจจัยที่สำคัญต่อการเลือกทำเลที่ตั้ง

               3.กำหนดทางเลือกโดยอาจทำการพิจารณาในอาณาบริเวณกว้างๆก่อน แล้วจึงพิจารณาบริเวณเฉพาะเจาะจงลงไป

                4.ประเมินทางเลือกต่างๆและทำการตัดสินใจ
      

1.4 การวิเคราะห์เลือกทำเลที่ตั้ง

            การเลือกทำเลที่ตั้งไม่สามารถกระทำได้โดยง่าย เนื่องจากแต่ละทำเลที่ตั้งมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน เช่น ทำเลที่ตั้ง

หนึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ แต่ไกลจากแหล่งตลาด เป็นต้น วิธีการที่จะช่วยในการวิเคราะห์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี  3  วิธีด้วยกันคือ

                1.วิธีการให้น้ำหนักความสำคัญ (Weighted method or factor rating) เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) วิธีการหนึ่ง โดยจะทำการให้น้ำหนักของแต่ละปัจจัยที่สนใจตามลำดับความสำคัญถ้าปัจจัยใดมีความสำคัญต่อการตัดสินใจมากก็จะให้น้ำหนังคะแนนมาก ถ้าปัจจัยใดมีความสำคัญต่อการตัดสินใจมากก็จะให้น้ำหนักคะแนนมาก  ถ้าปัจจัยใดมีความสำคัญน้อยก็จะให้คะแนนลดหลั่นตามลำดับ  ในการตัดสินใจเลือกจะทำเลที่ได้น้ำหนักคะแนนสูงสุด

                ขั้นตอนการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1)    กำหมดปัจจัยที่จะทำการพิจารณา

2)    ทำการให้น้ำหนักคะแนนแต่ละปัจจัย โดยในการให้น้ำหนักคะแนนจะดูจากความสำคัญต่อการเลือก

ทำเลที่ตั้งเป็นหลัก

3)    กำหมดสเกลสำหรับการให้น้ำหนักคะแนนแต่ละทำเลที่ตั้ง เช่น จาก 0 ถึง 100

4)    ให้คะแนนแต่ละทำเลที่ตั้งจากทุก ปัจจัย

5)    ทำการคะแนนของแต่ละทำเลที่ตั้ง โดยรวมผลของน้ำหนักของแต่ละปัจจัยด้วย  

6)    เลือกทาเลือกที่ให้คะแนนสูงสุด

2. วิธีการให้ระดับคะแนน  (Point Rating หรือ Rating Plan) เป็นวิธีการเชิงคุณภาพอีกวิธีการ โดยใช้หลักของการให้คะแนนแก่ทำเลที่ตั้งตามปัจจัยแต่ละด้าน ถ้าพอใจมากให้คะแนนมากโดยการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งที่มีคะแนนสูงสุด

3. วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน  (Break-even Analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยสนใจค่าใช้จ่ายที่เป็นหลัก โดยใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์มาทำการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งการวิเคราะห์สามารถใช้การวิเคราะห์สามารถใช้การวิเคราะห์จากการหรือจากรูปกราฟ

ขั้นตอนโดยสรุปมีดังนี้

(1) กำหนดค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost) และค่าใช้จ่ายแปรผัน (Variable Cost) ของแต่ละทำเล

(2)  หาความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายรวม (Total Cost) กับค่าใช้จ่ายคงที่และค่าใช้จ่ายแปรผันและทำการวาดกราฟของค่าใช้จ่ายรวมของทุกๆทำเลที่ตั้งลงบนกราฟชุดเดียวกัน

(3)ทำการหาดูว่าทำเลที่ตั้งใดมีค่าใช้จ่ายต่ำสุดในปริมาณการผลิตที่คาดหมายไว้

วิธีการนี้จะอยู่ภายใต้สมมติฐาน ดังนี้

(1) ค่าใช้จ่ายคงที่มีค่าคงที่ตลอดช่วงของปริมาณการผลิต

(2) ค่าใช้จ่ายแปรผันมีค่าคงที่ตลอดช่วงของปริการผลิต

(3) ระดับปริมาณการผลิตสามารถประมาณได้

(4) มีผลิตภัณฑ์ 1 ชนิด

                เมื่อกำหนดให้   TC       =          ค่าใช้จ่ายรวม

                                    FC       =          ค่าใช้จ่ายคงที่

                                    VC       =          ค่าใช้จ่ายแปรผัน/หน่วย

                                    Q         =          ปริมาณการผลิตต่อหน่วยเวลา

                จะได้ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการผลิตและค่าคงที่ใช้จ่ายเป็นดังนี้

                                ค่าใช่จ่ายรวม         =             ค่าใช้จ่ายคงที่ + (ค่าใช้จ่ายแปรผัน x ปริมาณการผลิต)

                                                TC       =          FC + (VC x Q)






วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเพิ่มผลผลิตในงานก่อสร้าง11

     จากการศึกษาเวลาที่มีขั้นตอนเริ่มจากการจับเวลา  การหาจำนวนครั้งการจับเวลา การหาเวลาปกติ  การหาค่าเผื่อ  ในครั้งที่ 11 เราได้เรียนการสังเคราะห์เวลาเพื่อหาเวลาพื้นฐานโดยได้ทำทดสอบหลังเรียนไปผมนำเฉลยมาให้ทบทวนพร้อมเนื้อหาบางส่วน